ข้อแนะนำการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ

 ข้อแนะนำการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ

               การออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจนับได้ว่าเป็นหนึ่งในหลายๆกิจกรรมที่มีความ สำคัญอย่างยิ่งที่รวมอยู่ในโปรแกรมฟื้นฟูหัวใจ.. (cardiac rehabilitation) ซึ่งโปรแกรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการควบคุมปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค หลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งทำให้ผู้ป่วยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งทางร่างกาย.. จิตใจ และสังคม ประโยชน์จากการออกกำลังกายฟื้นฟูหัวใจนั้นได้ครอบคลุมตั้งแต่ผู้ที่ยังไม่ เคยมีอาการแต่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (primary prevention) รวมตลอดจนถึงผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติต่างๆ ในระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ stable angina, post-myocardial infarction, post-PTCA, post-CABG, post-valve replacement, controlled heart failure, on pacemaker or implantable cardioverter ..defibrillators, cardiomyopathy, peripheral vascular disease,และ heart transplantation
  ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคหัวใจ
               การออกกำลังกายส่งผลดีต่อสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย เนื่องจากร่างกายมีการ ปรับตัวในการนำออกซิเจนไปใช้ได้ดีขึ้น จึงพบว่ามีการเพิ่มของขีดความสามารถของร่างกายในการใช้ออกซิเจนอย่างเต็มที่ (maximal oxygen consumption)ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลจากการที่กล้ามเนื้อที่มีส่วนในการออกกำลัง กายเพิ่มขีดความสามารถในการนำออกซิเจนไปใช้ นอกจากนี้ยังพบว่าหัวใจมีการปรับตัวโดยมี stroke volume ..เพิ่มขึ้น และในการทำงานที่เท่าเดิม หัวใจต้องการปริมาณออกซิเจนลดลง ในขณะที่มี myocardial perfusion ดีขึ้น
               การที่ผู้ป่วยมีสมรรถภาพร่างกายที่ดีขึ้น จึงส่งเสริมให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ดีขึ้น โดยจะลดอาการต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น angina pectoris, dyspnea, fatigue ซึ่งมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องออกแรงสำหรับการ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ พบว่าการออกกำลังกาย มีประโยชน์ในการช่วยป้องกันและควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด ..โดยเฉพาะอย่างยิ่ง high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) และระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ (triglycerides) นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังมีผลเพิ่มความสามารถการละลายลิ่มเลือด (fibrinolysis) และปรับปรุงการทำงานของเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด (endothelial function) ให้ดีขึ้น  มีสภาพจิตใจและคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้นโดยภาพรวมจะพบว่าการออกกำลังกา..ย เป็นประจำสามารถลดอัตราการตายและทุพลภาพลงได้

 


โปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน
1. การคัดเลือกผู้ป่วยสำหรับโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน มีหลักการดังนี้
    1.1 ผู้ป่วยไม่มีข้อห้ามในการออกกำลังกาย
    1.2 เป็นผู้ป่วยที่เหมาะสมควรเป็นผู้ที่จัดอยู่.ในกลุ่มความเสี่ยงต่ำหรือปานกลาง
    1.3 เป็นผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ถึงการประเมินตนเองในขณะออกกำลังกายตามที่แนะ นำได้ ได้แก่ อาการผิดปกติต่างๆ   ข้อห้ามไม่ให้ออกกำลังกาย  และการประเมินความหนักของการออกกำลังกายโดยการจับชีพจร หรือใช้ระดับความเหนื่อย เป็นต้น

2. การสอนโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน. ใช้หลักดังนี้
    2.1 Warm up และ cool down อย่างน้อย 10 นาที ก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง
    2.2 ควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายแบบ aerobic เช่น เดิน วิ่งเหยาะ จักรายาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน เป็นต้น (สำหรับการออกกำลังกายแบบ resistance ควรทำภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนตามหลักการที่กล่าวมาแล้ว) โดยใช้หลักในการเลือกชนิดของการออกกำลังกาย ได้แก่
          2.2.1 ความชอบของผู้ป่วย การที่ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายที่ตนเองชอบจะทำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายได้สม่ำเสมอมากขึ้น
          2.2.2 ความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยผู้ป่วยบางรายไม่ .เหมาะสมกับการออกกำลังกายบางอย่าง เช่น ผู้ที่ปวดเข่า อาจเลือกใช้การถีบจักรยานแบบตั้งอยู่กับที่มากกว่าการเดิน
          2.2.3 ความสะดวกสำหรับผู้ป่วย เช่น ความพร้อมของอุปกรณ์ สถานที่ หรือการเดินทาง
          2.2.4 หลักการอื่นๆ เช่น การมีเพื่อนร่วมออกกำลังกาย ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง ไม่เบื่อ

3. ความแรงในการออกกำลังกาย ใช้ความแรงระดับต่ำ. ถึงปานกลาง โดยอาจเลือกใช้วิธีดังต่อไปนี้
    3.1 อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักบวกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที (ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาที่มีผลทำให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลง เช่น beta blocker .15 ครั้งต่อนาที) เช่น ถ้าผู้ป่วยจับชีพจรขณะนั่งพักก่อนเดินวันนั้นได้ 60 ครั้งต่อนาที อัตราการเต้นของหัวใจใน.ขณะที่เหนื่อยสุดในวันนั้นไม่ควรเกิน 60 + 30 ครั้งต่อนาที (หรือ 60 + 15 ครั้งต่อนาที หากรับประทานยา beta blocker ร่วมด้วย)
    3.2 ร้อยละของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดที่ได้จากการตรวจสมรรถภาพการทำงานของ หัวใจ หรือคำนวณตามสูตร  (220 - อายุ) โดยใช้ค่าที่ 50 - 70% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด เช่น ผู้ป่วยอายุ 60 ปี อัตราการเต้นของหัวใจที่คาดคะเนได้ (220 – อายุ) = 160 ดังนั้น อัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมคือ (50% ถึง70%) ของ 160 ก็คือ  80 ถึง 115 ครั้งต่อนาที ทั้งนี้ใช้หลักของการเพิ่มออกกำลังกายตามข้อ 4
    3.3 ระดับความเหนื่อย ขณะออกกำลังกาย ให้ระดับความเหนื่อยมากที่สุดที่ รู้สึกว่าเหนื่อยแต่ยังพอพูดคุยกันได้ ถ้าเหนื่อย-หอบจนไม่สามารถพูดคุยได้ แสดงว่าการออกกำลังกายนั้นหนักเกินไป

4. ค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกาย .โดยยังไม่ต้องเพิ่ม ความแรง เช่น เดินช้าๆ ให้ได้นาน 15 นาที แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มเป็น 30 นาที โดยระยะแรกสามารถเดินแล้วหยุดพักเป็นช่วงๆ (intermittent training) เมื่อสามารถเดินได้ต่อเนื่อง 30 นาที แล้วค่อยพิจารณาเพิ่มความเร็วในการเดิน โดยเริ่มจากเดินเร็วเป็นช่วงๆ เช่น เดินช้า 10 นาที เดินเร็ว 1-2 นาที แล้วสลับกับเดินช้าๆ จนสามารถเดินเร็วได้ต่อเนื่องนานขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้อัตราการเต้นของหัวใจหรือความเหนื่อยที่กำหนดไว้ ตามข้อ 3 มีความสำคัญที่ขณะที่ฝึกออกกำลังกายที่บ้านด้วยตนเอง ความแรงของการออกกำลังกายไม่ควรเกินระดับดังกล่าว  ให้เริ่มจากเน้นระยะเวลา ถ้าไม่สามารถเหนื่อยหรืออัตราการเต้นของหัวใจไม่ถึงช่วงที่คำนวณไว้ก็ไม่ เป็นไร ให้ยึดหลักของการค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาให้นานขึ้นเป็น 15 นาที 30 นาที 45 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง  ..ในกรณีที่ต้องการออกกำลังกายเกินระดับที่แนะนำไว้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

5. ความรู้พื้นฐานเมื่อต้องการออกกำลังกาย
    5.1 ออกกำลังกายเมื่อรู้สึกว่าร่างกายปกติดี .ถ้ารู้สึกไม่สบาย เช่น มีไข้หรือเป็นหวัด ควรรอให้หายก่อนอย่างน้อย 2 วัน ก่อนเริ่มกลับไปออกกำลังกาย            
    5.2 ไม่ออกกำลังกายทันทีหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ ควรรออย่างน้อย 2 ชั่วโมง
    5.3 ดื่มน้ำให้เพียงพอ ..โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าออกกำลังกายในระดับแรงปานกลางถึงหนักที่นานกว่า 30 นาที ควรมีการชดเชยน้ำทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย
    5.4 ระวังเรื่องอากาศร้อน ไม่ควรออกกำลังกายในบริเวณที่มีอากาศร้อนเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแดด ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับหรืออึดอัดจนเกินไป และสามารถระบายอากาศได้ดี รวมทั้งดื่มน้ำให้เพียงพอ
    5.5 เตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการออกกำลังกายให้พร้อม เช่น รองเท้า ถุงเท้า ในบางราย  เช่น อายุ > 40 ปี หรือมีปัญหาสุขภาพเฉพาะ ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบที่มีการลงน้ำหนักกระแทก
    5.6 ไม่ควรออกกำลังกาย หรือหยุดออกกำลังกาย และปรึกษาแพทย์ เมื่อมีอาการต่อไปนี้     
                    5.6.1 รู้สึกอึดอัดหรือไม่ปกติบริเวณส่วนบนของร่างกาย เช่น ทรวงอก คอ คาง แขน ลิ้นปี่ รวมถึง อาการแน่น ปวด เจ็บ ตึง หรือ ร้าว ก็ได้      
                    5.6.2 มึนศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียน    
             5.6.3 เหนื่อยมาก หอบ ขณะออกกำลังกาย
                    5.6.4 รู้สึกผิดปกติ เช่น เจ็บ ปวด ตึง ตามกล้ามเนื้อ กระดูก ข้อ ขณะที่ออกกำลังกาย หรือภายหลังออกกำลังกาย
    5.7 อาการ/อาการแสดงของการออกกำลังกายมากเกินไป
             5.7.1 ปกติหลังออกกำลังกายไม่เกิน 5 นาที ..ความรู้สึกเหนื่อยควรจะลดลงจนเกือบปกติ ถ้าหลังออกกำลังกายแล้วรู้สึกเหนื่อยหรือเพลียทั้งวัน ควรลดปริมาณของการออกกำลังกาย
             5.7.2 ไม่สามารถพูดคุยได้ขณะออกกำลังกายเนื่องจากเหนื่อยหรือหายใจไม่ทัน
                    5.7.3 คลื่นไส้จะอาเจียนหรือจะเป็นลมหลังออกกำลังกาย ..ควรลดปริมาณการออกกำลังกายและ cool down ให้เพียงพอ
             5.7.4 นอนไม่หลับ แม้จะเหนื่อยหลังออกกำลังกาย
                    5.7.5 ปวด เจ็บ ที่กล้ามเนื้อ กระดูก ..หรือ ข้อ ควรประเมินถึง เทคนิคการออกกำลังกาย  ความหนักและ warm up และ cool down ให้เพียงพอ



เรื่องต่อไป
« โพสก่อนหน้า
เรื่องก่อนหน้า
โพสต่อไป »