ออกกำลังกายเพื่อป้องกัน และฟื้นฟูจากโรคมะเร็ง

ออกกำลังกายเพื่อป้องกัน และฟื้นฟูจากโรคมะเร็ง

การออกกำลังกายและโรคมะเร็ง
               ผลดีของการออกกำลังกายต่อ ผู้ป่วยโรคมะเร็งนอกเหนือจากการรักษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยคือผลต่อ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยพบว่าการออกกำลังกายที่มีความหนักระดับปานกลางมีผลทำให้เกิดการอักเสบและ การติดเชื้อลดลงทั้งในคนปกติ และในผู้ป่วยโรคมะเร็งหลังการผ่าตัด... แต่มีข้อสังเกตคือการออกกำลังกายที่หนักเกินไปอาจมีผลกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันได้ ดังนั้นลักษณะโปรแกรมการออกกำลังกายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
               จากการสืบค้นข้อมูลการวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจนถึงปัจจุบันพบว่า ยังไม่มีข้อบ่งชี้ที่เฉพาะเจาะจงที่สามารถสรุปเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนความถี่ ระยะเวลา... และความหนักของการออกกำลังกายที่ดีที่สุดสำหรับป้องกัน ส่งเสริมการรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยจากโรคมะเร็งเฉพาะอย่าง และในปัจจุบันนี้ยังไม่มีการศึกษาใดที่แสดงการเปรียบเทียบและชี้ให้เห็นว่า การออกกำลังกายแบบใดเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งประเภทใดหรือเหมาะสำหรับ ระยะใดของโรคมะเร็ง หรือเหมาะสำหรับปฏิบัติในระหว่างการรักษาวิธีใด
 การ.. ศึกษาวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาผลการออกกำลังกายรูปแบบเดียวในกลุ่มผู้ป่วย มะเร็งประเภทเดียว เนื่องจากมีข้อจำกัดของการวิจัยหลายประการ อาทิเช่น จำนวนผู้เข้าร่วมการวิจัย ระยะเวลาการวิจัย การดำเนินของโรคที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เป็นต้น ดังนั้นบทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการวิจัยที่หลากหลาย เพื่อใช้ข้อมูลการศึกษาเหล่านี้เป็นแนวทางในการให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยซึ่ง... เป็นหลักการโดยทั่วไป โดยแบ่งลักษณะการออกกำลังกายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็งเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์และภาวะของผู้ออกกำลังกายซึ่งลักษณะรูปแบบการออกกำลังกาย ระยะเวลาและความหนักที่ใช้ในการออกกำลังกายมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่ม
การออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันการเป็นโรคมะเร็ง
               ใช้แนวทางเดียวกับการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพโดยทั่วไปซึ่งมีหลักการคือ คนทั่วไปทุกคนควรมีการออกแรงกายในระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็วๆ อย่างน้อยวันละ 30 นาทีหรือมากกว่าเกือบทุกวันในแต่ละสัปดาห์ อย่างไรก็ตามยังมีรายละเอียดที่ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อ.. สุขภาพเพื่อป้องกันโรคมะเร็งแต่ละชนิด โดยเฉพาะมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเม็ดโลหิตขาว และมะเร็งปอดที่มีรายงานการวิจัยยืนยันดังนี้ 
               รายงานการศึกษาย้อนหลังที่ติดตามผู้หญิงที่เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 25,624 คน อายุระหว่าง 20-54 ปีเป็นเวลาประมาณ 13 ปีพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างระดับของกิจกรรมทางกายหรือการเคลื่อนไหวออก แรง/ออกกำลังกายกับอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านม... และพบว่าอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่ำในกลุ่มผู้หญิงที่เริ่มออกกำลังกาย ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 45 ปี อยู่ในช่วงก่อนถึงวัยหมดประจำเดือน และมีดัชนีมวลกายต่ำกว่า 22.8 ซึ่งออกกำลังกายอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาอื่นๆ ... อีกเป็นจำนวนมากที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของการออกกำลังกายกับการลดอัตรา เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเต้านม  
               การศึกษาในประชากรชายจำนวน 53,242 คน ช่วงอายุ 19-50 ปีพบว่ามีผู้ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก 220 ราย และโรคมะเร็งอัณฑะ 47 ราย ในระยะเวลาที่ติดตามศึกษารวม 16.3 ปี และพบว่าผู้ที่มีกิจกรรมทางกายระดับปานกลางอย่างสม่ำเสมอและมีการเคลื่อนไหว ...โดยการเดินในขณะประกอบอาชีพมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อย กว่ากลุ่มผู้ที่ไม่มีการออกกำลังกาย และมีรายงานการศึกษาเกี่ยวกับอัตรา เสี่ยงของการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากกับการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรมทางกาย ...ระหว่างปี ค.ศ. 1976-2002 จำนวน 16 เรื่อง จากทั้งหมดที่ได้มีการตีพิมพ์รวม 27 เรื่อง พบว่าระดับของการออกกำลังกายมีผลทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูก หมากลดลงได้ถึง 10-30%
 
               ผลการศึกษาอัตราเสี่ยงของมะเร็งปอดในกลุ่มผู้ชายจำนวน 53,242 คน ช่วงอายุ 19-50 ปีพบว่ากลุ่มผู้ที่ออกกำลังกายในระดับเทียบเท่ากับการเดินหรือขี่จักรยาน... เป็นเวลาสัปดาห์ละ 4 ชั่วโมงขึ้นไป มีอัตราการเป็นมะเร็งปอดต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย เช่นเดียวกับที่พบ... ว่าผู้ที่ออกกำลังกายในระดับดังกล่าวมีอัตราการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนต้น น้อยกว่า สอดคล้องกับการศึกษาในระยะต่อมาในประชากรชายจำนวน 70,403 คน และหญิง 80,771 คน อายุเฉลี่ย 63 ปี พบว่าในระหว่างปี ค.ศ.1992-1999 มีผู้ได้รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งลำใส้ใหญ่ 940 คน มะเร็งทวารหนัก 390 คน โดยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายกับการเกิดโรคมะเร็งลำใส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก ซึ่งจำนวนชั่วโมงที่ออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้นจาก 2 ชั่วโมงถึง 7 ชั่วโมงขึ้นไปมีผลต่อการลดลงของอัตราการเกิดมะเร็งลำใส้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญ  
               ข้อ สรุปหลักการออกกำลังกายเพื่อป้องกันมะเร็งที่ได้จากงานวิจัยเหล่านี้คือ การมีกิจกรรมทางกาย หรือการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลังกายเพื่อการป้องกันการเป็นโรคมะเร็งควร ปฏิบัติอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในระดับที่เทียบได้กับการเดินหรือขี่จักรยาน โดยรักษาระดับดัชนีมวลกายให้ต่ำกว่า 22.8 และโดยเฉพาะสำหรับการป้องกันโรคมะเร็งเต้านมควรเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่อายุ น้อยกว่า 45 ปี ในระยะก่อนวัยหมดประจำเดือน การป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากเน้นที่การเดินเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำ วัน ส่วนการป้องกันมะเร็งประเภทอื่นๆนั้นยังขาดการศึกษาวิจัยทางด้านระบาด วิทยาที่เพียงพอที่จะยืนยันได้ว่าลักษณะการออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นเช่น... ไร ดังนั้นจึงควรใช้หลักการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับคนทั่วไป

   

การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง
               มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีการเคลื่อนไหวที่ใกล้เคียงภาว...ะ ปกติ ส่งเสริมการรักษาโรคมะเร็งและบรรเทาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการรักษา โดยที่การรักษาโรคมะเร็งมีเป้าหมายในการกำจัดทำลายเซลล์มะเร็งด้วยวิธีการ ต่างๆ ประกอบด้วย การผ่าตัด การรักษาด้วยรังสี (Radiation therapy) และการรักษาด้วยยาที่มีผลทางเคมีต่อเซลล์มะเร็ง(Chemotherapy) ซึ่งผลกระทบจากวิธีการรักษาที่หลีกเลี่ยงได้ยากคือผลที่เกิดขึ้นต่อเซลล์ อื่นๆของร่างกายและผลกระทบโดยรวมต่อจิตใจของผู้ป่วยและสังคม ...มีรายงานการวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายมีผลดีในการลดภาวะ ข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาโรคมะเร็ง อาทิเช่น ภาวะอารมณ์แปรปรวน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ปัญหาการนอนไม่หลับ ภาวะล้า (Fatigue) และ Body image ข้อสรุปจากการศึกษาวิจัยผลของการออกกำลังกายในผู้ป่วยโรคมะเร็งประเภท ต่างๆมีดังนี้ 
               การศึกษาผลของการออกกำลังกายส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ซึ่งมีลักษณะการออกกำลังกายและผลที่เกิดขึ้นสรุปดังตาราง รูปแบบการออกกำลังกายที่ศึกษาส่วนใหญ่เป็นการออกกำลังกายเพื่อระบบการไหล เวียนโลหิต (Cardiovascular exercise) โดยใช้วิธีการออกกำลังกายแบบแอโรบิกโดยการปั่นจักรยานหรือการเดิน เป็นเวลา 15-35 นาที สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์... จึงพบว่ามีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ออกกำลังกาย นอกจากนั้นยังพบว่าการออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานอยู่กับที่สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 15 สัปดาห์ทำให้การเกิดกระบวนการทำลายเซลล์ตามธรรมชาติ (Natural killer cell cytotoxic activity) เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และเช่นเดียวกับผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะ อาหารที่พบว่ากระบวนการทำลายเซลล์ตามธรรมชาติเพิ่มขึ้นเมื่อออกกำลังกายแบบ แอโรบิกเป็นเวลา 30 นาที 2 ครั้งต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วันเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์  
               การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Non-Hodgkin's lymphoma (NHL) ในประเทศแคนาดาพบว่าคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ออกกำลังกายภายหลัง จากได้รับการวินิจฉัยโรคแล้วดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างมีนัย สำคัญ คล้ายคลึงกับผลการศึกษาในผู้ป่วยโรคมะเร็งของลำใส้ใหญ่ซึ่งพบว่าการ ออกกำลังกายความหนักปานกลางด้วยตนเองที่บ้าน วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง นาน 16 ...สัปดาห์มีผลดีต่อคุณภาพชีวิต 
               การศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากจำนวน 155 คนที่อยู่ระหว่างการรักษาโดย Androgen deprivation therapy ใช้โปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ขา และลำตัว โดยใช้แรงต้านขนาด 60-70% ของน้ำหนักที่ยกได้มากที่สุด... (1-Repetition maximum: 1-RM) จำนวน 8-12 ครั้งต่อกล้ามเนื้อ และทำ 2 เซตต่อวัน 3 ครั้งต่อสัปดาห์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าอาการล้าลดลงในขณะที่คุณภาพชีวิตและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพิ่ม ขึ้น  
               ในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งเม็ดโลหิตขาว... (Acute lymphoblastic leukemia) พบว่ามีโอกาสเสี่ยงต่อภาวะกระดูกบางมากกว่าคนปกติโดยเฉพาะในเด็กผู้ชายและพบ ว่ามีความสัมพันธ์กับระดับของการประกอบกิจกรรมทางกายและการเคลื่อนไหวที่ลด ลง และในการศึกษาผลของการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านในผู้ป่วยกลุ่มนี้หลังจาก ได้รับการรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกเป็นเวลา 35 วันพบว่ามีการสะสมโปรตีนในกล้ามเนื้อมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ดัง นั้นการออกกำลังกายจึงควรเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ด... โลหิตขาวเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยรูปแบบการออกกำลังกายควรเน้นการลงน้ำหนักผ่านกระดูกเพื่อป้องกันภาวะ... กระดูกบางและใช้รูปแบบการออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ



เรื่องต่อไป
« โพสก่อนหน้า
เรื่องก่อนหน้า
โพสต่อไป »